วิสัยทัศน์ ค่านิยมหลักองค์กร พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์
วิสัยทัศน์ (Vision)
“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 เป็นองค์กรสมรรถนะสูง มุ่งมั่นบริหารและจัดการศึกษาให้นักเรียนได้รับ โอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”
ค่านิยมหลักขององค์กร (OBEC Core Value)
Self-Improvement พัฒนาตน
Manage มุ่งผลสัมฤทธิ์
Innovation คิดค้นสิ่งใหม่
Lead นำองค์กรก้าวไปข้างหน้า
Ethic รักษาจริยธรรม
พันธกิจ (Mission)
1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศของผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
3. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ
4. พัฒนาโรงเรียนและระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับให้มีความปลอดภัย และโรงเรียนสามารถจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. เพิ่มโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมกับบริบท เป็นองค์กรสมรรถนะสูง
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย
2. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เสมอภาคมีคุณภาพ
ตามมาตรฐาน สอดคล้องกับศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
3. เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และโรงเรียน ได้รับการดูแลความปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ และรองรับวิถีชีวิตใหม่ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
5. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
สมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู
6. โรงเรียนจัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนมีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการ
บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เหมาะสม กับบริบท
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมให้โรงเรียนโบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา
2. ส่งเสริมการบูราการ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม วินัย ความภูมิใจในชาติ ในการจัดการเรียนการสอน
3. ส่งเสริมการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้สภานักเรียนเพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขในการจัดการเรียนรู้
4. ส่งเสริมการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของผู้เรียนที่มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันชาติศาสนาพระมหากษัตริย์
2. ร้อยละของโรงเรียนที่ปรับปรุงการสอนประวัติศาสตร์
3. ร้อยละของโรงเรียน ที่มีสภานักเรียน
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนมีความปลอดภัย
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมให้โรงเรียนในนำมาตรการ 3 ป ได้แก่ การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปรามลงสู่การปฏิบัติอย่างเข้มงวด และให้เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ MOE Safety Center ปฏิบัติหน้าที่อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม
2. ส่งเสริมให้โรงเรียนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ได้แก่ 7 หลัก 6 เสริม 7 เข้ม ลงสู่การปฏิบัติ และดำเนินการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอยของนักเรียน (Learning loss)
3. ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อม และการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความปลอดภัย
ตัวชี้วัด
1.ร้อยละของผู้เรียนที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบ และทุกประเภท
2. ร้อยละของโรงเรียนที่มีการประเมินความเสี่ยง และมีแผน/มาตรการ กิจกรรมในการสร้างความตระหนักรู้ (Safety Awareness) หรือทักษะในการรับมือด้านความปลอดภัย (Safety Action) ทุกรูปแบบ และมีการดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ
3. ร้อยละของโรงเรียน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนากลไก และระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อใช้ในการดูแลและป้องกันนักเรียนออกนอกระบบการศึกษา
2. ดำเนินงานตามนโยบายพาน้องกลับมาเรียน เพื่อค้นหา เฝ้าระวัง ติดตาม ช่วยเหลือ นักเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าศึกษาต่อจนจบการศึกษาภาคบังคับ
3. ส่งเสริมให้เด็กพิการหรือด้อยโอกาส ได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
4. ส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ
ตัวชี้วัด
1. อัตราการเข้าเรียนสุทธิ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. ร้อยละของเด็กออกกลางคัน เด็กตกหล่น กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
3. จำนวนของผู้เรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม ตามความจำเป็นและศักยภาพ
4. จำนวนของผู้เรียนที่เป็น ผู้มีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมศักยภาพที่เหมาะสม
5. ร้อยละของโรงเรียน มีการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการรับและให้บริการการศึกษา รวมถึงการส่งต่อ ผู้เรียนระดับปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างเป็นระบบ
6. ร้อยละของโรงเรียนที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 4 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะนักเรียน รวมทั้งการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้
2. ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐาน (3R8C) ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะดิจิทัล ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. พัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สะเต็มศึกษา (STEM) ภาษาต่างประเทศภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) ในการเรียนรู้
4. ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพหุปัญญา
5. ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2. ร้อยละของโรงเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือคัดกรอง/สำรวจแวว/วัดความสามารถความถนัดของผู้เรียน
3. ร้อยละของโรงเรียน ที่มีหลักสูตรโรงเรียนที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัด และความสนใจของผู้เรียน
4. ร้อยละของโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และมีการวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)
5. ร้อยละของผู้เรียนปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษา
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และมีความก้าวหน้าในตำแหน่งและวิทยฐานะ
2. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม
3. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีวินัยในการออม
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลการประเมิน PA ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2. ร้อยละของครูผู้ช่วยได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
3. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
กลยุทธ์ที่ 6 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
แนวทางการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
2. ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data) และสร้างการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
3. พัฒนาการให้บริการผ่านเว็บไซต์ (Website) และระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) ตามมาตรฐานเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัย (Research) เพื่อพัฒนานวัตกรรม
4. กระจายอำนาจภายในเขตพื้นที่การศึกษา (Empower)ส่งเสริมบทบาทขององค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และส่งเสริมภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ตัวชี้วัดระดับเขตพื้นที่การศึกษา
1. ผลการประเมินการประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผลการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพ(PMQA)
2. ผลการประเมินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Open Data Intergrity And Transpaerncy Assessment : ITA)
3. ผลการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (KRS)
4. ผลการประเมินการประเมินตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ ของ สพฐ.
5.ร้อยละของความพึงใจของผู้รับบริการของผู้รับบริการ ต่อการบริการและการจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
ตัวชี้วัดระดับโรงเรียน
1. ร้อยละของ และโรงเรียน ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับ ชุมชน/หน่วยงาน/องค์กร/บุคคลภายนอกในการบริหารจัดการ และการให้บริการการศึกษา
2. ร้อยละของโรงเรียนมีการพัฒนาการบริหารจัดการและการให้บริการการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
3.ร้อยละของโรงเรียนที่มีผลการประกันคุณภาพภายในระดับดีเลิศขึ้นไป
4. ร้อยละของโรงเรียนที่มีผลการประกันคุณภาพภายนอกระดับดีไป
5.ร้อยละของโรงเรียนคุณภาพที่มีการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้สำเร็จตามเป้าหมาย
แนวทางการพัฒนาโรงเรียน
1. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในร่วมกับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมการประเมินคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐาน